4 วิธีออนไลน์ ที่นักธุรกิจเครือข่าย MLM ต้องรู้

4

MLM (Multilevel Marketing) คือ การขยายเครือข่ายผู้บริโภค เพื่อมุ่งเน้นการคืนกำไรสู่ผู้บริโภค ผ่านแผนการตลาด ที่วิเคราะห์โดยนักการตลาดมืออาชีพ ให้เราแปรรูปจากการเป็นผู้บริโภคธรรมดา มาเป็นได้ถึง 3 สถานภาพ โดยเป็นทั้งลูกค้า ผู้ขาย และ ผู้บริหาร ในคนเดียวกัน จึงไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร ที่ ผู้ทำ MLM ไม่ได้ขายสินค้าเอง แต่มีรายได้เป็นแสน เป็นล้านบาท เพราะเขาได้ทำการบริหารองค์กร เขาจึงมีรายได้จากการบริหารจำนวนมากต่อเดือน

MLM เป็นระบบการตลาดที่ให้โอกาสในการประสบความสำเร็จแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน โดยไม่สำคัญว่าจะเป็นใคร และใครเข้ามาก่อนหรือใครเข้ามาที่หลัง เป็นการเปิดโอกาสให้คุณสามารถทำธุรกิจได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ลองศึกษาแผนการตลาดของเราให้ดีเถอะครับ จะได้ไม่ต้องเสียโอกาสดี ๆ ถ้าบริษัทดี แผนการตลาดดีตรงใจคุณ

เคล็ดลับ : เทคนิคการทำธุรกิจเครือข่าย ว่าทำอย่างไรถึงจะสามารถทำให้คนสนใจได้ ว่าอะไรบ้างที่ต้องเรียนรู้และนำไปใช้ในธุรกิจที่ทำอยู่ ซึ่งมี 9 เทคนิค ดังต่อไปนี้

เคล็ดลับที่ 1 : Target Marketing (กลุ่มเป้าหมายในการทำตลาด สำคัญไฉน)

แน่นอนว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจเครือข่ายของคุณในแบบออนไลน์นั้นจะทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้าแบบออฟไลน์ไม่ได้ หมายความว่าคุณเห็นใครบนโลกออนไลน์เป็นผู้มุ่งหวังไปหมด ขอให้เลิกคิดวิธีนี้ เพราะมันจะทำให้คุณประสบความล้ำเหลว ในการทำแบบออนไลน์นั้นคุณจำเป็นต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า ใครกันแน่คือกลุ่มเป้า่หมายที่แท้จริงของคุณ

เคล็ดลับที่ 2 : Sharing Story (คุณต้องการจะแบ่งเรื่องราวอะไรให้กลุ่มนั้น )

เมื่อคุณกลุ่มเป้าหมายแล้วคุณจำเป็นต้องหาเรื่องราวที่จะแบ่งปันให้กับกลุ่มคนเหล่านั้น ขอย้ำว่ายิ่งเรื่องราวของคุณใกล้เคียงกับสิ่งที่เขาต้องการมากเท่าไหร่ พวกเขาจะต้องการคุณทันที เช่น : คุณขายรองเท้าไนกี้ คุณก็ต้องให้ข้อมูลรองเท้าไนกี้ ถ้าคุณจะให้ข้อมูลรองเท้ายี่ห้ออื่น มันก็ไม่ใช่ เพราะเขาคิดว่าเราไม่มีในสิ่งที่เขาต้องการ

เคล็ดลับที่ 3 : Tools Marketing (เลือกเครื่องมือในการทำตลาด )

เมื่อเราเตรียมข้อมูลพร้อมแล้ว สิ่งที่ต้องทำอันดับต่อไปคือ เครื่องมือบนโลกในนี้มีเยอะแยะมากมาย แต่เครื่องมือที่ได้ผลและเป็นที่นิยมอย่างมาก นั้นก็คือ “Blog” คุณจะบล็อก ยี่ห้ออะไรก็ได้ในการทำการตลาด…แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว “เลือก WordPress” เอามาติดตั้งเอง ซึ่งมีความหยืดหยุ่น ในการทำ SEO มากกว่าบล็อกของค่ายอื่น ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีทุนละคุณก็ควรเริ่มจาก Blogger ก่อนก็ได้

เคล็ดลับที่ 4 : Media & Social (ไม่ใช่มีแค่บล็อกแล้วจะครบ ต้องมีอย่างอื่นด้วย)

ปัจจัยสำหรับ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

22

1.เลือกลูกค้า ฟังไม่ผิดหรอกครับ เราต้องเลือกลูกค้าด้วยไม่ใช่แค่ว่าลูกค้าเลือกเรา เหมือนการหาพนักงาน ไม่ใช่แค่บริษัทเลือกคนเข้าทำงาน แต่จริงๆแล้วพนักงานก็เลือกบริษัทที่จะทำเหมือนกัน

ซึ่งในการทำงานจริงนั้น ถึงแม้เราจะทำสัญญารอบคอบ รัดกุมขนาดไหน หรือทำ BOQ ครบถ้วนก็ตาม แต่พอถึงเวลาทำจริงๆ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนความต้องการ ผู้รับเหมาก็มักจะทำให้ เพียงแต่ว่าจะกระทบกับการทำงานแค่ไหนเท่านั้นเอง

  1. มีเงินทุนหมุนเวียน

ข้อนี้สำคัญมาก เพราะผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หลายๆที่น่าจะเคยมีปัญหานี้กันมาหมด

เนื่องจากในบางครั้ง มูลค่าของงานที่รับมาค่อนข้างจะสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรมีเงินทุนหมุนเวียนเกินกว่า 20% ของมูลค่างานที่รับมา เพราะถ้าอาศัยแต่เงิน Advance กับการเบิกเงินระหว่างวดเพียงอย่างเดียว อาจจะทำให้งานสะดุดได้

แต่ถ้าการจ่ายเงินในแต่ละงวดไม่มีปัญหา ก็อาจจะผ่านมาได้แล้วแล้วถ้าการจ่ายเงินล่าช้าหล่ะ?จะเกิดผลกระทบแน่นอน เพราะไม่มีเงินไปจ่ายค่าต่างๆ เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรงงานพนักงาน เป็นต้นดังนั้น ในเรื่องเงินทุนหมุนเวียน หรือ Cash Flow นั้นสำคัญมาก จะต้องวางแผนดีๆ Monitor อยู่ตลอด ว่ารายรับ รายจ่าย สอดคล้องกันไหม

  1. ควบคุมต้นทุนก่อสร้าง

ผู้รับเหมาหลายๆที่ มักจะไม่ติดตาม ควบคุมต้นทุนอย่างใกล้ชิดนัก เพราะมักจะเอาเวลาไปกับการแก้ปัญหาหน้างาน เป็นหลัก จนละเลย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของโครงการ ในหลายๆที่ มักจะไม่มีฝ่ายที่ควบคุมต้นทุนก่อสร้าง โดยเฉพาะ มักจะเอาข้อมูลมาจากฝ่ายบัญชี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ละเอียดพอ ในการบริหารจัดการ ในบางบริษัท จึงเลือกที่จะมีฝ่ายควบคุมต้นทุนก่อสร้าง โดยเฉพาะ ทำให้สามารถติดตามค่าใช้จ่ายได้อย่างใกล้ชิด และปัญหาค่าใช้จ่ายที่ไม่ชัดเจนมักจะมาจากเงินสดย่อย ที่มักจะไม่นำมาแยกแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง ทำให้การประเมินต้นทุนตามหมวดงาน มีความผิดพลาด

 

งานก่อสร้างมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานที่มากมายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

File written by Adobe Photoshop¨ 5.0

งานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คืออุบัติเหตุซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ความสูญเสียจากงานก่อสร้างในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ และมีคนงานจำนวนมากที่ยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากงานก่อสร้าง ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุและการลดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้น

สิ่งที่ส่งผลให้ความถี่และความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นคือการนำเอาเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร อันทันสมัยมาใช้เพื่อทุนแรงและประหยัดเวลาแต่ในทางกลับกันความปลอดภัยในงานก่อสร้างไม่ได้วิวัฒนาการตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมถึง ความปลอดภัยพื้นฐานในงานก่อสร้างยังถูกละเลย ขาดความสนใจและเอาใจใส่จากผู้รับเหมาและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างจริงจังนอกจากนี้คนงานยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเหมาะสม อุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมจึงยังคงเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เช่นนี้

งานก่อสร้างเป็นงานซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานที่มากมายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอวิถีทางหนึ่งของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง คือการจัดความปลอดภัยในงานก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน คือ สถานที่ก่อสร้าง หมายถึงอาณาบริเวณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมิใช่เฉพาะบริเวณที่กำลังดำเนิน การก่อสร้างเท่านั้น แต่รวมไปถึงบริเวณที่จัดเก็บวัสดุ โกดังเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร และอื่น ๆ เป็นต้น จึงควรมีข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในสถานที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนงานดังนี้

การทำรั้วกั้นโดยรอบบริเวณก่อสร้างทั้งหมดเพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเขตก่อสร้างถ้าเป็นอาคารสูงอยู่ใกล้ชุมชนนอกจากการทำรั้วกันแล้วควรทำหลังคาคลุมทางเดินที่ติดรั้วกั้นนั้นด้วยเพื่อป้องกันเศษวัสดุตกใส่ผู้สัญจรไปมาภายนอกในสถานที่ก่อสร้างต้องมีการแบ่งเขตก่อสร้างอย่างชัดเจนโดยแบ่งเขตที่พักอาศัยออกจากบริเวณก่อสร้างที่จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร ที่เก็บวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหรือยังไม่ใช้ (ออกเป็นระเบียบสถานที่ที่อันตรายทุกแห่งในเขตก่อสร้าง ต้องมีป้ายสัญลักษณ์ หรือป้ายเตือนภัยต่าง ๆ หรือข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวซึ่งป้ายสัญลักษณ์นี้ต้องมีขนาดพอเหมาะและเห็นได้ชัดเจน ภาพแสดงและตัวอักษรต้องเป็นสื่อสากลที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่ายรอบตัวอาคารมีแผ่นกั้นกันวัตถุตกลงมาและมีตาข่ายคลุมอีกชั้นอาคารขณะก่อสร้างในที่มีช่องเปิดหรือที่ไม่มีแผงกั้น ควรทำราวกั้น และมีตาข่ายเสริมเพื่อป้องกันการตก

ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องยังเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีผลโดยตรง ต่อเศรษฐกิจ

18

คงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธว่าอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และมีเม็ดเงินหมุนเวียนหลายแสนล้านบาทต่อปี ทำให้รัฐบาลพยายามผลักดันและส่งเสริมให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่เมื่อพิจารณาถึงแนวทางและนโยบายการดำเนินงาน ในภาพรวม จะพบว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยยังขาดความชัดเจนและแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง เพราะขาดการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ ทำให้หน่วยงานหรือองค์กรที่จะเข้ามารับผิดชอบอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยมีความจำเป็นมากขึ้นทุกขณะ เพื่อสร้างรากฐานให้งานก่อสร้างในประเทศไทยมีศักยภาพเทียบเท่ากับนานาประเทศได้

อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศสูง โดยที่ตัวเลข GDP หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกือบ 10% เป็นอัตราการเติบโตจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2547 อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโต กว่า 10% วงเงินในการลงทุนก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 5-6 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินลงทุนดังกล่าวเป็นอัตราการขยายตัวในการ ลงทุนด้านก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นถึง 17% ของภาคเอกชนและ 16% สำหรับภาครัฐ

อีกทั้งภาพของอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทย ในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนแปลงไปจากจำนวนผู้ที่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างทั้งหมด โดยพบว่า ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาล เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างที่อยู่นอกเขตเทศบาลทั้งสิ้น 62% และภาคใต้ก็มีผู้ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างนอกเขตเทศบาล 52% เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า Momentum ของการก่อสร้างในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีผลโดยตรง ต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ความสำคัญของการมีองค์กรหรือหน่วยงานเพื่อบริหารจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงอย่างจริงจัง ซึ่งหากพิจารณาถึงความเหมาะสมของการมีหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อรับผิดชอบดูแลภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างหลายหน่วยงาน ดังนั้น การมีหน่วยงานที่ต้องเข้ามารับผิดชอบและกำกับดูแลอย่างจริงจัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาร่วมกำกับดูแล เพื่อประสานงาน ระหว่างหน่วยงาน เช่นเดียวกับแนวทางการดำเนินงาน ในปัจจุบัน ที่ภาครัฐได้แบ่งเป็น Cluster ของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน